เมนู

เหตุนั้น ธรรม (จักขุวิญญาณ) นี้ จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์. พึงทราบ
นัยที่ทรงกำหนดนัยละ 4 วาระ ในวาระทั้ง 10 แม้เหล่านั้น เหมือนใน 3 วาระ
แรก.
จักษุที่ทรงยกขึ้นแสดงเพื่อถามว่า รูปที่ชื่อว่า จักขายตนะ เป็นไฉน ?
ดังนี้ เพื่อแสดงคำว่า อิทนฺตํ (รูปนี้นั้น) โดยประการต่าง ๆ จึงแสดงนิทเทส-
วาร 13 คือ นัยก่อน 3 วาระ นัยนี้ 10 วาระ. ก็ในวาระ 13 เหล่านี้ แต่
ละวาระพึงทราบว่า ทรงแสดงประดับนัยไว้ 52 นัย เพราะการกำหนดวาระ
ละ 4 นัย ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งโสตายตนะเป็นต้น ข้างหน้าแต่จักขุนิทเทส
นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในโสตายตนนิทเทสเป็นต้นนี้ พึงทราบคำที่ต่างกัน
อย่างนี้.

ว่าด้วยคำว่าโสตเป็นต้น


ธรรมที่ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน. โสตนั้นตั้งอยู่ในประเทศ
มีสัณฐานดังวงแหวน มีขนแดงละเอียดงอกขึ้นภายในช่องแห่งสสัมภารโสต
(หูพร้อมด้วยเครื่องประกอบ) อันธาตุทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วอุปกา-
ระ อันอุตุจิตและอาหารคอยอุปถัมภ์ อันอายุคือ ชีวิตรูป คอยอนุบาล อัน
โคจรรูปมีวรรณะเป็นต้น แวดล้อมแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุ และทวาร
แก่โสตวิญญาณเป็นต้นตามสมควร.
ธรรมที่ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ย่อมสูดกลิ่น. ฆานะที่เป็น
ประสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังกีบเท้าแพะภายในช่องสสัมภาร-
ฆานะ (ช่องจมูกพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้รับอุปการะอุปถัมภ์อนุบาล
และการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร แก่ฆาน-
วิญญาณเป็นต้น ตามสมควร.